วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วิตามิน C กับการป้องกันหมัน

วิตามินซี หรือที่เรียกว่า กรดแอสคอร์บิคใครที่เคยเรียนสุขศึกษาย่อมรู้ดีว่ามีมากในผลไม้ตระกูลส้ม

วิตามินชนิดนี้สามารถช่วยปกป้องดีเอ็นเอที่อยู่ในตัวสเปิร์มได้ ผลที่ตามมา ก็คือ

ลูกหลานที่จะเกิดจากสเปิร์มนั้น จะแข็งแรงปลอดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม หลายอย่าง

นอกจากนี้กรดแอสคอร์บิคยังช่วยคุ้มครองโมเลกุลบางชนิด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม

(เช่น สารจำพวกไขมัน) สเปิร์มจึงมีกำลังวังชาดีขึ้นด้วยและวิตามินซี ยังมีส่วนในการป้องกันอันตรายจาก

สารพิษ คือโมเลกุลออกซิเจนที่มีอิเล็กตรอนไม่พอดี (oxygen radicals) ซึ่งมักจะออกอาละวาด

ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ที่รุนแรง จนส่วนประกอบของเซลล์ต้องบอบช้ำอยู่เสมอ

คุณบรูซ เอมส์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมืองเบอร์คลีย์ กล่าวว่า เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายของคนเรา ต้องเผชิญกับปฏิกิริยาออกซิเดชันไม่น้อย

กว่าวันละ 10,000 ครั้ง ทำให้เซลล์ของเรา "โทรม" ไปทีละเล็กละน้อย เป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ชราและโรคาพยาธิทั้งหลาย ปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยาก

จะหลีกเลี่ยง เพราะสารอันไม่พึงประสงค์ เช่น เปอร์ออกไซด์ และซูเปอร์ออกไซด์ นั้นล้วนแต่มีปฏิกิริยาที่ "ไวไฟ" และเกิดขึ้นจากกระบวนการเมแทบอลิซึมตาม

ปกติธรรมดา ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เพราะจำเป็นสำหรับการสกัดและการถ่ายทอดพลังงานในร่างกาย

แม้ว่าจะมีสารยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน แถมด้วยเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยารีดักชัน คอยต่อต้านแผลร้ายต่าง ๆ ดังกล่าวอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ต่อต้านไม่

ไหว ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นกับไขมัน โปรตีน และดีเอ็นเอของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดีเอ็นเอของสเปิร์มในเพศชายและของไข่ในเพศหญิง ความเสียหาย

เหล่านี้จะนำไปสู่ความพิการตั้งแต่แรกเกิดของทารก โรคพันธุกรรมและโรคมะเร็งบางชนิด ที่มักจะเกิดในวัยเด็ก

ถ้าจะพูดกันตรง ๆ แล้ว ความผิดปกติทางพันธุกรรมทั้งหลาย มักมีสาเหตุจากดีเอ็นเอของพ่อมากกว่าแม่ เช่น มะเร็งที่มีชื่อว่า เรติโนบลาสโตมา

(Retinoblastoma) มะเร็งชนิดนี้มีความเกี่ยวโยงกับความผิดปกติของสเปิร์มอย่างแน่นอน เหตุที่สเปิร์มมีโอกาสผิดเพี้ยนได้มากกกว่าไข่นั้น อาจเป็น

เพราะว่าการสร้างสเปิร์มต้องมีการแบ่งเซลล์มากครั้งกว่าคือ ต้องแบ่งถึง 380 ครั้ง ในขณะที่ไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงแบ่งตัวเพียง 23 ครั้ง ความผิด

เพี้ยน (mutation) ก็เกิดขึ้นในระยะการแบ่งตัวนี่เอง เพราะเป็นช่วงเวลาที่การ ซ่อมแซมเซลล์หยุดชะงัก

ความเข้มข้นของกรดแอสคอร์บิคในน้ำอสุจินั้น เมื่อวัดดูก็ปรากฏว่าสูงกว่าในพลาสมาของเลือดถึง 8 เท่า เอมส์จึงเชื่อว่า วิตามินซีมีส่วนช่วยป้องกันสเปิร์มแน่ โดย

เฉพาะในระหว่างการแบ่งเซลล์ซึ่งเซลล์จะอ่อนแอเป็นพิเศษ

กรดแอสคอร์บิคละลายได้ในน้ำและเป็นตัวรีดิวซ์ (reducer) นั่นคือ มีฤทธิ์ตรงข้ามกับสารที่ก่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน ดังนั้นถ้ามีกรดแอสคอร์บิคน้อย

เกินไป ก็แสดงว่า อาจเกิดความเสียหายแก่ดีเอ็นเอของสเปิร์มได้มาก

ปริมาณของกรดแอสคอร์บิคมีผลต่อความเสียหายของดีเอ็นเอ อย่างไร ?

ด้วยความอยากรู้ เอมส์จึงได้ทำการวิจัยจากผลการวิจัย ทีมงานของเอมส์เชื่อว่า ขณะที่เชื้ออสุจิยังอยู่ในท่อนำน้ำอสุจิ (seminiferous tubules) หลัง

จากการผลิตขึ้นมาใหม่ ๆ นั้นกรดแอสคอร์บิคจะร่วมกับสารต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำหน้าที่เป็นปราการด่านแรก เพื่อปกป้องยีนที่อยู่ในสเปิร์ม

คนสูบบุหรี่ยิ่งต้องการวิตามินซีในอาหารมากขึ้น เพราะสารพวกไนโตรเจนออกไซด์ที่มากับควันบุหรี่นั้น มีฤทธิ์ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation)

อย่างรุนแรง และยังมีรายงานวิจัยใหม่ ๆ ชี้ให้เห็นว่า ถ้าผู้ที่กำลังจะเป็นพ่อคนยังสูบบุหรี่ ลูกที่เกิดมาอาจมีโอกาส เป็นมะเร็งของเม็ดเลือด มากกว่าลูกของครอบครัว

ที่ปลอดบุหรี่

เอมส์สรุปลงท้ายว่า ความรู้ใหม่นี้จะทำให้คนเห็นคุณค่าของวิตามินซี และนักโภชนา การจะได้ช่วยกันคิดคำนวณว่าคนเราควรจะได้รับสารต่อต้านปฏิกิริยา

ออกซิเดชัน เช่น วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน วันละสักเท่าใด จึงจะพอเหมาะและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: