วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การนับอายุ ของ ซาลาแมนเดอร์


ยึ้ยยยยยย

ซาลาแมนเดอร์

ปกติแล้วไม่ค่อยได้ดูทีวีหรอก

แต่เมื่อประมาณวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา(ถ้าจำไม่ผิดนะ)

บังเอิญได้ดูรายการหนึ่งทางช่อง 9

เป็นรายการที่นำเสนอเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์รอบๆ ตัวเรา

เป็นรายการลิขสิทธิ์ของประเทศเกาหลี

มีอยู่ตอนหนึ่ง ที่ทางรายการบอกถึงวิธีดูอายุของเจ้าตัว "ซาลาแมนเดอร์"

ตอนแรกก็เข้าใจว่าเป็นจิ้งจกน้ำนี่หน่า

เห็นคนไทยนิยมเรียกแบบนั้นนะคะ

แต่พอลองค้นๆ ดูจากเน็ตแล้วปรากฏว่าเป็นคนละชนิดกัน

จิ้งจกน้ำจะตัวสีส้มๆ ถึงน้ำตาล แต่เนื่องจากทุกชนิดหน้าตาคล้ายจิ้งจก

เลยเรียกเหมารวมไปเลยว่าจิ้งจกน้ำ


มาเข้าเรื่องของการดูอายุซาลาแมนเดอร์

ค่อนข้างโหดที่เดียว คือ ต้องตัดนิ้วที่เท้าของเขาออกมาดู

วิธีการตัดนิ้วที่เท้าของซาลาแมนเดอร์

เป็นวิธีเดียวที่จะทราบอายุของซาลาแมนเดอร์ได้ค่ะ

น่าแปลก! ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น ก็เพราะซาลาแมนเดอร์

มีกระดูกไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่น

กระดูกของเขาจะเจริญเติบโตเป็นวงๆ มากขึ้นทุกๆ ปี

ปีละ 1 วง เหมือนกับวงปีของต้นไม้เลย

ต้องตัดนิ้วเท้าของเขามาส่องกล้องขยายในห้องทดลอง

จะมองเห็นจากรอยที่ถูกตัดตามขวางว่ามีลักษณะเป็นวงๆ

ซ้อนกันเป็นชั้นๆ แบบต้นไม้จริงๆ


เจ้าตัวที่เป็นแบบ ต้องถูกตัดนิ้วเท้า(มีเลือดออกด้วย) อายุได้ 4 ปีแล้ว

นักวิทยาศาสตร์บอกว่ามันไม่เจ็บหรอก

อีกไม่กี่วันนิ้วของเขาก็จะงอกออกมาใหม่ได้เหมือนหางจิ้งจก

เปนงัยล่ะ

กับบทความวันนี้

อึ้ง กิ่ม กี่กัน ไปหลายคนเลย
.

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

มาดู พืชที่เล็กที่สุด ในโลกเร็ว O_o !!!

อ่าแน่ๆๆ
พอพูดถึงพืชที่มีขนาดเล็กที่สุด หลายๆคนคง จาคิดไปว่า เอ จาเป็นพวกสาหร่ายเซลล์เดียวรึป่าว ว้า

ป่าวเลยๆๆ

เพราะว่ามันเป็นพืชเจงๆๆๆ !!!

ไอ่พืชที่ว่านี้ ก้อคือ Wolffia arrhiza >>> อะรัย หว่า

มันเรียกว่า " ไข่น้ำ " หรือ ผำ หรือ ไข่แหน หรือ water meal หรือ โอ้ยยย มากมายยยย
มีขนาดยาว 0.61 มม กว่้าง 0.33 มม (เล็กมากๆๆ) ว้าวววววว

เป็นพวกเดียวกับ แหนเป็ด ยี้........


ไข่น้ำ ตามปกติจะพบลอยอยู่ตามผิวน้ำ มีลักษณะเป็นแผ่นเรียกว่าทัลลัส (thallus)

ทัลลัสมีรูปกลมหรือรูปไข่สีเขียว พองนูนทั้งด้านบนและด้านล่าง ไม่มีราก

ทัลลัสมีขนาดยาว ประมาณ 0.1 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า

ดอกออกเป็นช่อขนาดเล็กมากและจะเกิดอยู่ในถุงตรงขอบทัลลัส

มีดอกเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 1 ดอก


ไม่ใช่มีประโยชน์แค่นำมาโฆษณาว่าเป็นพืชที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกเท่านั้นน้าาา

ไข่น้ำยังเป็นพืชที่มีโปรตีนสูงอีกด้วย


ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านมาช้านาน


ตัวอย่าง สูตรการทำอาหารจากผักพื้นบ้าน เช่น คั่วผำกับหมู โอ้วววจอร์จจจจจจจจจจจ
ความสำคัญของพืชกลุ่มนี้มีมากจนถึงขนาดว่ามีคนนำไปจดสิทธิบัตรในอเมริกา
เรื่องวิธีการเลี้ยงในอาหารที่มีธาตุเหล็ก ซะงั้นนน
ที่นี้เรามาดูว่าฝรั่งเขาวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของไข่น้ำ กันบ้าง

เขาพบว่าพืชในวงศ์ไข่น้ำมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากถึง 86-97% ทีเดียว (ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ)

จากรายงานการวิจัย ****

พบว่าไข่น้ำเป็นพืชที่ให้โปรตีนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ

แต่ก็ต้องขึ้นกับสภาพของการเจริญเติบโตอีกด้วยน้าา

จากการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำหนักแห้ง พบว่ามีโปรตีน 6.8-45%
ไขมัน 1.8-9.2% คาร์โบไฮเดรต 14.1-43.6% และปริมาณเส้นใยไฟเบอร์ 5.7-16.2%

และจากการวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโนพบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของ leucine, threonine, valine, isoleucine และ phenylalanine สูง

แต่มี cysteine, methionine, และ tyrosine อยู่ในระดับต่ำ ว้าาาาา

เห็นมั้ย ว่ามันถึงจาเล็ก แต่ก้อ .... เล็กพริกขี้หนู น้าาาาาา










วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การยืด อายุ ดอกไม้ หลัง ตัด ออกจาก ต้น


ดอกไม้สดมีอายุการใช้งานสั้น เพียงไม่ กี่วันหลังจากตัดออกมาจากต้น ดอกไม้ก็จะเหี่ยว กลีบดอกและใบก็ร่วงโรยตามไป


สำหรับสาเหตุการเหี่ยวของดอกไม้หลังจากการตัดดอกไม้ออกมาจากต้นแล้ว อาจเนื่องมาจาก สาเหตุต่อไปนี้ คือ ก้านดอกดูดน้ำได้น้อย เพราะว่ามีสิ่งมาอุดตัน รอยตัดที่ปลายก้านดอก เช่น เชื้อจุลินทรีย์ หรือน้ำยางของก้านดอกไม้บางชนิด ชนิดพันธุ์ของดอกไม้ เช่น ดอกกุหลาบ ก้านคอดอกจะอ่อน เนื่องจาก ไม่มีเซลล์ ที่สร้างลิกนิน ทำให้ไม่มีเนื้อไม้ในส่วนก้านดอก ดังนั้นเมื่อขาดน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะ แสดงอาการ เหี่ยวทันที ใบสูญเสียน้ำมากดอกไม้ที่ตัดมีใบติดมาด้วยมีโอกาส สูญเสียน้ำได้มากกว่าดอกไม้ที่ไม่มีใบติด เนื่องจากที่ใบมีปากใบจำนวนมาก ดังนั้น จึงสูญเสียน้ำได้มากด้วย และดอกไม้ขาดอาหาร ดอกไม้หลังจากตัดออกมาจาก ต้น แล้วก็ยังคงมีการระเหยน้ำ มีการหายใจ การหายใจทำให้เกิดพลังงาน เพื่อนำไป ใช้ในปฏิกิริยาต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อการเจริญเติบโต เช่น การบานของดอกเพิ่มมาก ขึ้น ดังนั้นจึงทำให้อาหารที่มีอยู่ในดอกไม้ลดลงไปเรื่อยๆ และถ้าอาหารหมด เซลล์ ก็จะตายดอกไม้ก็จะเหี่ยว

ถ้าทำให้ดอกไม้ได้รับอาหารต่อไป ดอกไม้ก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น อาหารของดอกไม้ที่ได้รับจากต้น คือ น้ำตาล ซึ่งพืชสามารถสังเคราะห์ได้เอง โดย อาศัย น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แสงอาทิตย์ และคลอโรฟีลล์ ได้เป็นน้ำตาล กลูโคส และน้ำตาลฟรุคโตส ดังนั้นการเติมน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลฟรุคโตส ใส่ลงไปในน้ำที่แช่ดอกไม้ จะทำให้ดอกไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น แต่ น้ำตาล กลูโคส และ น้ำตาลฟรุคโตสมีราคาแพง จึงมีการใช้น้ำตาลทรายขาว นั่นก็คือ น้ำตาลซูโครส ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน เพราะในโมเลกุลของน้ำตาลซูโครส ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส โดยที่เซลล์ของดอกไม้สามารถเปลี่ยน น้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส เพื่อใช้เป็นอาหารได้ แต่การเติม น้ำตาลลงไปในน้ำที่แช่ดอกไม้ เมื่อทิ้งไว้ ๒-๓ วัน จะเน่าเสียเพราะเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในอากาศเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นสารประกอบ ชนิดอื่น และทำให้ก้านดอกไม้ เน่าเสีย ดังนั้นน้ำที่ใช้แช่ดอกไม้นอกจากเติมน้ำตาลแล้วต้องเติมสาร สารเคมีที่ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ๘-ไฮดรอกซี ควิโนลีน (๘-Hydroxy quinoline) โดยใช้ในรูปของเกลือซัลเฟต หรือเกลือซิเตรต สารเคมีชนิดนี้สามารถ ลดปัญหาการอุดตันของท่อน้ำในก้านดอกไม้ได้ เนื่องจาก ๘-ไฮดรอกซีควิโนลีน ไป รวมตัวกับโลหะที่เกี่ยวข้องในกิจกรรม ของเอนไซม์ซึ่งเร่งให้เกิดการอุดตันของ ท่อน้ำ ดอกไม้บางชนิด เช่น คาร์เนชั่นและกล้วยไม้ เมื่อดอกบานจะปล่อยก๊าซ เอทิลีนออกมา มีผลทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วขึ้น สารเคมีเบนซิลไอโซไธโอไซยาเนต (Bensylisothiocyanate) สามารถช่วยยับยั้งการสังเคราะห์ ก๊าซเอทิลีน นอกจาก นี้ต้องคำนึงถึงการตัดดอกไม้ออกจากต้นควรใช้มีด หรือกรรไกรที่คมและสะอาด ควรตัด ดอกไม้ที่มีระยะการบานที่เหมาะสมเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้นานที่สุด พยายามเหลือใบ ให้น้อยที่สุด และต้องแช่ดอกไม้ที่ตัดลงในน้ำสะอาดทันที เพื่อ ให้น้ำเข้าไปแทนที่น้ำที่สูญเสียไป

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Biology for life

biology is two word

bios = life

logos = subject , knowledge

หมู่เลือดโอ บอมเบย์ ???

หมู่เลือดโอบอมเบย์มีอะไรที่แตกต่างจากหมู่เลือดโอ ????
หมู่เลือดตามระบบ ABO จำแนกได้เป็น 4 หมู่ ตามชนิดของแอนติเจนที่พบบนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง
และในส่วนของพลาสมาพบว่ามีแอนติบอดีที่จำเพาะต่อหมู่เลือดอยู่ 2 ชนิด คือ แอนติบอดี A และแอนติบอดี B คนที่มี
เลือดต่างหมู่กันจะมีแอนติเจนและแอนติบอดีแตกต่างกัน
แอนติเจน H เป็นแอนติเจนที่พบที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นสารต้นกำเนิดของแอนติเจน A และ
แอนติเจน B โดยที่เอนไซม์ transferase A จะเปลี่ยนแอนติเจน H ให้เป็นแอนติเจน A และเอนไซม์
transferase B จะเปลี่ยนแอนติเจน H ให้เป็นแอนติเจน B ดังนั้นที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของ หมู่เลือด A จะพบแอนติเจน A และแอนติเจน H ส่วน
ที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด B จะพบแอนติเจน B และแอนติเจน H และที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด AB จะมีทั้งแอนติเจน A
แอนติเจน B และแอนติเจน H และที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด O จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแอนติเจน A หรือ
แอนติเจน B ได้ เนื่องจากไม่มีเอนไซม์ transferase A หรือ เอนไซม์ transferase B
ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h
โดยที่ HH และ Hh genotype จะกำหนดให้แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง
hh genotype จะกำหนดให้ไม่แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง
สำหรับหมู่เลือดโอบอมเบย์เป็นหมู่เลือดที่พบครั้งแรกในคนที่อาศัยอยู่ที่บอมเบย์ ดังนั้นจึงตั้งชื่อหมู่เลือดนี้ตามสถานที่ที่พบ ครั้งแรก ซึ่งหมู่เลือดโอบอมเบย์จะมี
genotype เป็น hh ดังนั้นจึงพบว่าไม่แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง
การให้เลือด
ผู้ให้และผู้รับควรมีเลือดหมู่เดียวกันจึงจะปลอดภัยที่สุด นั่นคือ เลือดของผู้ให้ต้องไม่มีแอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ เพราะถ้าเลือดของผู้ให้มีแอนติเจนตรงกับ
แอนติบอดีของผู้รับจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้รับจับตัวกันเป็นกลุ่มตกตะกอนทำให้ เกิดอันตรายแก่ผู้รับ ดังนั้นผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O จะสามารถให้เลือดกับผู้รับ
ที่มีหมู่เลือด A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด O ได้ เรียกว่าเป็น "universal donors" สำหรับผู้รับที่มีหมู่เลือด AB สามารถรับเลือดจากผู้
ให้ที่มีหมู่เลือด A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด O ได้ เรียกว่าเป็น "universal receivers"
สำหรับหมู่เลือด O-bombay พบว่าในประเทศอินเดีย ประชากรจำนวน 10,000 คน จะพบคนที่มีหมู่เลือด O-bombay เพียง 1 คน ผู้ให้ที่มีหมู่
เลือด O-bombay สามารถให้เลือดกับผู้รับที่มีหมู่เลือด A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด O ได้ซึ่งการให้เลือดไม่แตกต่างจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O
แต่ในกรณีที่ผู้รับมีหมู่เลือด O-bombay สามารถรับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O-bombay เท่านั้น ไม่สามารถรับเลือดได้จากผู้ให้ที่มีหมู่ O เนื่อง
จากว่าที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่แสดงแอนติเจน H
จากการทดสอบเมื่อนำเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนที่มีหมู่เลือด O-bombay มาทำปฏิกิริยากับแอนติบอดี A หรือ แอนติบอดี B จะไม่เกิดการจับตัวกันเป็นกลุ่ม
ตกตะกอน ซึ่งผลการทดสอบไม่แตกต่างจากคนที่มีหมู่เลือด O ดังนั้นอาจสรุปว่าคนคนนั้นมีหมู่เลือด O แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหมู่เลือด O-bombay ใน
กรณีนี้จะเป็นอันตรายมากถ้าคนที่มีหมู่เลือด O-bombay ได้รับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O


วิตามิน C กับการป้องกันหมัน

วิตามินซี หรือที่เรียกว่า กรดแอสคอร์บิคใครที่เคยเรียนสุขศึกษาย่อมรู้ดีว่ามีมากในผลไม้ตระกูลส้ม

วิตามินชนิดนี้สามารถช่วยปกป้องดีเอ็นเอที่อยู่ในตัวสเปิร์มได้ ผลที่ตามมา ก็คือ

ลูกหลานที่จะเกิดจากสเปิร์มนั้น จะแข็งแรงปลอดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม หลายอย่าง

นอกจากนี้กรดแอสคอร์บิคยังช่วยคุ้มครองโมเลกุลบางชนิด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม

(เช่น สารจำพวกไขมัน) สเปิร์มจึงมีกำลังวังชาดีขึ้นด้วยและวิตามินซี ยังมีส่วนในการป้องกันอันตรายจาก

สารพิษ คือโมเลกุลออกซิเจนที่มีอิเล็กตรอนไม่พอดี (oxygen radicals) ซึ่งมักจะออกอาละวาด

ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ที่รุนแรง จนส่วนประกอบของเซลล์ต้องบอบช้ำอยู่เสมอ

คุณบรูซ เอมส์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมืองเบอร์คลีย์ กล่าวว่า เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายของคนเรา ต้องเผชิญกับปฏิกิริยาออกซิเดชันไม่น้อย

กว่าวันละ 10,000 ครั้ง ทำให้เซลล์ของเรา "โทรม" ไปทีละเล็กละน้อย เป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ชราและโรคาพยาธิทั้งหลาย ปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยาก

จะหลีกเลี่ยง เพราะสารอันไม่พึงประสงค์ เช่น เปอร์ออกไซด์ และซูเปอร์ออกไซด์ นั้นล้วนแต่มีปฏิกิริยาที่ "ไวไฟ" และเกิดขึ้นจากกระบวนการเมแทบอลิซึมตาม

ปกติธรรมดา ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เพราะจำเป็นสำหรับการสกัดและการถ่ายทอดพลังงานในร่างกาย

แม้ว่าจะมีสารยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน แถมด้วยเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยารีดักชัน คอยต่อต้านแผลร้ายต่าง ๆ ดังกล่าวอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ต่อต้านไม่

ไหว ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นกับไขมัน โปรตีน และดีเอ็นเอของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดีเอ็นเอของสเปิร์มในเพศชายและของไข่ในเพศหญิง ความเสียหาย

เหล่านี้จะนำไปสู่ความพิการตั้งแต่แรกเกิดของทารก โรคพันธุกรรมและโรคมะเร็งบางชนิด ที่มักจะเกิดในวัยเด็ก

ถ้าจะพูดกันตรง ๆ แล้ว ความผิดปกติทางพันธุกรรมทั้งหลาย มักมีสาเหตุจากดีเอ็นเอของพ่อมากกว่าแม่ เช่น มะเร็งที่มีชื่อว่า เรติโนบลาสโตมา

(Retinoblastoma) มะเร็งชนิดนี้มีความเกี่ยวโยงกับความผิดปกติของสเปิร์มอย่างแน่นอน เหตุที่สเปิร์มมีโอกาสผิดเพี้ยนได้มากกกว่าไข่นั้น อาจเป็น

เพราะว่าการสร้างสเปิร์มต้องมีการแบ่งเซลล์มากครั้งกว่าคือ ต้องแบ่งถึง 380 ครั้ง ในขณะที่ไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงแบ่งตัวเพียง 23 ครั้ง ความผิด

เพี้ยน (mutation) ก็เกิดขึ้นในระยะการแบ่งตัวนี่เอง เพราะเป็นช่วงเวลาที่การ ซ่อมแซมเซลล์หยุดชะงัก

ความเข้มข้นของกรดแอสคอร์บิคในน้ำอสุจินั้น เมื่อวัดดูก็ปรากฏว่าสูงกว่าในพลาสมาของเลือดถึง 8 เท่า เอมส์จึงเชื่อว่า วิตามินซีมีส่วนช่วยป้องกันสเปิร์มแน่ โดย

เฉพาะในระหว่างการแบ่งเซลล์ซึ่งเซลล์จะอ่อนแอเป็นพิเศษ

กรดแอสคอร์บิคละลายได้ในน้ำและเป็นตัวรีดิวซ์ (reducer) นั่นคือ มีฤทธิ์ตรงข้ามกับสารที่ก่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน ดังนั้นถ้ามีกรดแอสคอร์บิคน้อย

เกินไป ก็แสดงว่า อาจเกิดความเสียหายแก่ดีเอ็นเอของสเปิร์มได้มาก

ปริมาณของกรดแอสคอร์บิคมีผลต่อความเสียหายของดีเอ็นเอ อย่างไร ?

ด้วยความอยากรู้ เอมส์จึงได้ทำการวิจัยจากผลการวิจัย ทีมงานของเอมส์เชื่อว่า ขณะที่เชื้ออสุจิยังอยู่ในท่อนำน้ำอสุจิ (seminiferous tubules) หลัง

จากการผลิตขึ้นมาใหม่ ๆ นั้นกรดแอสคอร์บิคจะร่วมกับสารต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำหน้าที่เป็นปราการด่านแรก เพื่อปกป้องยีนที่อยู่ในสเปิร์ม

คนสูบบุหรี่ยิ่งต้องการวิตามินซีในอาหารมากขึ้น เพราะสารพวกไนโตรเจนออกไซด์ที่มากับควันบุหรี่นั้น มีฤทธิ์ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation)

อย่างรุนแรง และยังมีรายงานวิจัยใหม่ ๆ ชี้ให้เห็นว่า ถ้าผู้ที่กำลังจะเป็นพ่อคนยังสูบบุหรี่ ลูกที่เกิดมาอาจมีโอกาส เป็นมะเร็งของเม็ดเลือด มากกว่าลูกของครอบครัว

ที่ปลอดบุหรี่

เอมส์สรุปลงท้ายว่า ความรู้ใหม่นี้จะทำให้คนเห็นคุณค่าของวิตามินซี และนักโภชนา การจะได้ช่วยกันคิดคำนวณว่าคนเราควรจะได้รับสารต่อต้านปฏิกิริยา

ออกซิเดชัน เช่น วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน วันละสักเท่าใด จึงจะพอเหมาะและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

Biology

หวัดดี คับ



ขอต้อนรับเข้าสู่ blog ใหม่ของผมน่ะคับ



คือ blog นี้ของผม จะเป็น blog ที่รวบรวมข่าวสารอัพเดต เกี่ยวกับ ชีววิทยา แบบไม่ให้ตกเทรนด์เลยหล่ะคับ



รับรองมีอัพ กันทุกวันๆ ชัวๆ คับ



รับประกันได้



งั้นเรามาเริ่มอัพกันก่อนเลยนะคับ



เรื่องแรกเลย



ปลิง กับ การรักษาโรคทางการแพทย์



หลายคนอาจจะรู้จักปลิงในฐานะของปรสิตที่ดูดเลือด

กินเป็นอาหาร และคิดว่าปลิงเป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อ

มนุษย์ แต่ทราบหรือไม่ว่าที่จริงแล้วปลิงถูกนำมาใช้

ช่วยรักษาโรคได้

ปลิง = ไฟลัมแอนนิลิดา (Annelid) subclass Hirudinea

-มีสองเพศในตัวเดียว (Hermaphrodite) คือมีทั้งอันฑะและรังไข่อยู่ในตัวเดียวกัน

ผสมพันธุ์ภายในตัวเองโดยใช้ clitellum ในการเก็บไข่

ปลิงอาศัยอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ มีขนาดลำตัวอยู่ระหว่าง 5 – 45 มิลลิเมตร

ปลิงบางชนิดเป็นปรสิตที่กินเลือดสัตว์จำพวกปลาไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและมนุษย์

โดยปลิงจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูดหรือ sucker ซึ่งภายในจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็น 3 แฉกแต่ละแฉก

จะมีฟันซี่เล็กๆอยู่จำนวนมากใช้สำหรับเกาะที่ตัวเหยื่อ

( เวลาโดนปลิงเกาะ ตอนเอามันออก ลอยตอนเกาะ เหมือน เบนซ์ เลยอ่า เหอๆ )

นอกจากนั้นในน้ำลายของปลิงยังมีสาร Hirudin ที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด

ทำให้เลือดบริเวณที่ถูกปลิงกัดนั้นมีการไหลเวียนได้ตลอดเวลา และนี่คือเหตุผลที่แพทย์เลือกปลิงมาใช้เป็น

การแพทย์ทางเลือก

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้มีการค้นคว้า

และทำงานวิจัยเพื่อนำปลิงมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบ ปวดบวม

หรือมีอาการทางสมองเช่น ปวดศีรษะหรือเลือดคั่งในสมอง

โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้การปลูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อรวมไปถึงการผ่าตัดอวัยวะต่างๆ

เช่น การต่อกระดูกนิ้วเท้า ต่อแขน ขา

โดยปลิงจะถูกนำมาช่วยรักษาอาการเลือดคั่งตามผิวหนังบริเวณที่เพิ่ง

ได้รับการปลูกถ่ายใหม่ตลอดจนช่วยฟื้นฟูระบบการหมุนเวียนของเลือดบริเวณที่ผ่าตัดได้

ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยของ Essen – Mitte Clinic ในเยอรมันที่นำปลิงมาใช้รักษาคนไข้จำนวน 16 คน

โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 68 ปีและได้รับความเจ็บปวดจากโรคข้อต่อกระดูกอักเสบ

ซึ่งวิธีการรักษานั้นเริ่มจากการนำปลิงจำนวน 4 ตัวไปวางไว้ตรงบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการปวด

เช่น บริเวณหัวเข่า จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วจึงนำปลิงออก

ทำเช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดนั้นบรรเทาลง

ถ้าสังเกตจากขั้นตอนการรักษาแล้วดูเหมือนว่าปลิงจะมีส่วนช่วยทำให้อาการปวดนั้นบรรเทาลงได้

แต่ความจริงแล้วที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดนั่นอาจเป็นเพราะผู้ป่วยได้รับสาร Hirudin

ในน้ำลายของปลิงที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกชา

นั่นหมายความว่าปลิงไม่ได้ช่วยทำให้อาการของโรคข้อต่อกระดูกอักเสบหายไป

เพียงแต่ช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ทำการรักษามากกว่า

ส่วนข้อควรระวังของการนำปลิงมาใช้รักษาโรคคือ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้สาร Hirudin

ที่ได้รับจากปลิง อาจทำให้เกิดอาการแพ้จนเกิดเป็นผื่นคันตามผิวหนัง

และอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย

ดังนั้นแพทย์จึงต้องทำการทดสอบผู้ป่วยก่อนทุกครั้งก่อนที่จะนำปลิงมาใช้รักษาทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของ

ตัวผู้ป่วยเอง

ละตกลง มันรักษาได้ รึว่ามัน ทำให้ชาเฉยๆ เนี่ย

เหอๆ