วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

Biology

หวัดดี คับ



ขอต้อนรับเข้าสู่ blog ใหม่ของผมน่ะคับ



คือ blog นี้ของผม จะเป็น blog ที่รวบรวมข่าวสารอัพเดต เกี่ยวกับ ชีววิทยา แบบไม่ให้ตกเทรนด์เลยหล่ะคับ



รับรองมีอัพ กันทุกวันๆ ชัวๆ คับ



รับประกันได้



งั้นเรามาเริ่มอัพกันก่อนเลยนะคับ



เรื่องแรกเลย



ปลิง กับ การรักษาโรคทางการแพทย์



หลายคนอาจจะรู้จักปลิงในฐานะของปรสิตที่ดูดเลือด

กินเป็นอาหาร และคิดว่าปลิงเป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อ

มนุษย์ แต่ทราบหรือไม่ว่าที่จริงแล้วปลิงถูกนำมาใช้

ช่วยรักษาโรคได้

ปลิง = ไฟลัมแอนนิลิดา (Annelid) subclass Hirudinea

-มีสองเพศในตัวเดียว (Hermaphrodite) คือมีทั้งอันฑะและรังไข่อยู่ในตัวเดียวกัน

ผสมพันธุ์ภายในตัวเองโดยใช้ clitellum ในการเก็บไข่

ปลิงอาศัยอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ มีขนาดลำตัวอยู่ระหว่าง 5 – 45 มิลลิเมตร

ปลิงบางชนิดเป็นปรสิตที่กินเลือดสัตว์จำพวกปลาไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและมนุษย์

โดยปลิงจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูดหรือ sucker ซึ่งภายในจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็น 3 แฉกแต่ละแฉก

จะมีฟันซี่เล็กๆอยู่จำนวนมากใช้สำหรับเกาะที่ตัวเหยื่อ

( เวลาโดนปลิงเกาะ ตอนเอามันออก ลอยตอนเกาะ เหมือน เบนซ์ เลยอ่า เหอๆ )

นอกจากนั้นในน้ำลายของปลิงยังมีสาร Hirudin ที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด

ทำให้เลือดบริเวณที่ถูกปลิงกัดนั้นมีการไหลเวียนได้ตลอดเวลา และนี่คือเหตุผลที่แพทย์เลือกปลิงมาใช้เป็น

การแพทย์ทางเลือก

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้มีการค้นคว้า

และทำงานวิจัยเพื่อนำปลิงมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบ ปวดบวม

หรือมีอาการทางสมองเช่น ปวดศีรษะหรือเลือดคั่งในสมอง

โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้การปลูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อรวมไปถึงการผ่าตัดอวัยวะต่างๆ

เช่น การต่อกระดูกนิ้วเท้า ต่อแขน ขา

โดยปลิงจะถูกนำมาช่วยรักษาอาการเลือดคั่งตามผิวหนังบริเวณที่เพิ่ง

ได้รับการปลูกถ่ายใหม่ตลอดจนช่วยฟื้นฟูระบบการหมุนเวียนของเลือดบริเวณที่ผ่าตัดได้

ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยของ Essen – Mitte Clinic ในเยอรมันที่นำปลิงมาใช้รักษาคนไข้จำนวน 16 คน

โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 68 ปีและได้รับความเจ็บปวดจากโรคข้อต่อกระดูกอักเสบ

ซึ่งวิธีการรักษานั้นเริ่มจากการนำปลิงจำนวน 4 ตัวไปวางไว้ตรงบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการปวด

เช่น บริเวณหัวเข่า จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วจึงนำปลิงออก

ทำเช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดนั้นบรรเทาลง

ถ้าสังเกตจากขั้นตอนการรักษาแล้วดูเหมือนว่าปลิงจะมีส่วนช่วยทำให้อาการปวดนั้นบรรเทาลงได้

แต่ความจริงแล้วที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดนั่นอาจเป็นเพราะผู้ป่วยได้รับสาร Hirudin

ในน้ำลายของปลิงที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกชา

นั่นหมายความว่าปลิงไม่ได้ช่วยทำให้อาการของโรคข้อต่อกระดูกอักเสบหายไป

เพียงแต่ช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ทำการรักษามากกว่า

ส่วนข้อควรระวังของการนำปลิงมาใช้รักษาโรคคือ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้สาร Hirudin

ที่ได้รับจากปลิง อาจทำให้เกิดอาการแพ้จนเกิดเป็นผื่นคันตามผิวหนัง

และอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย

ดังนั้นแพทย์จึงต้องทำการทดสอบผู้ป่วยก่อนทุกครั้งก่อนที่จะนำปลิงมาใช้รักษาทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของ

ตัวผู้ป่วยเอง

ละตกลง มันรักษาได้ รึว่ามัน ทำให้ชาเฉยๆ เนี่ย

เหอๆ