วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การยืด อายุ ดอกไม้ หลัง ตัด ออกจาก ต้น


ดอกไม้สดมีอายุการใช้งานสั้น เพียงไม่ กี่วันหลังจากตัดออกมาจากต้น ดอกไม้ก็จะเหี่ยว กลีบดอกและใบก็ร่วงโรยตามไป


สำหรับสาเหตุการเหี่ยวของดอกไม้หลังจากการตัดดอกไม้ออกมาจากต้นแล้ว อาจเนื่องมาจาก สาเหตุต่อไปนี้ คือ ก้านดอกดูดน้ำได้น้อย เพราะว่ามีสิ่งมาอุดตัน รอยตัดที่ปลายก้านดอก เช่น เชื้อจุลินทรีย์ หรือน้ำยางของก้านดอกไม้บางชนิด ชนิดพันธุ์ของดอกไม้ เช่น ดอกกุหลาบ ก้านคอดอกจะอ่อน เนื่องจาก ไม่มีเซลล์ ที่สร้างลิกนิน ทำให้ไม่มีเนื้อไม้ในส่วนก้านดอก ดังนั้นเมื่อขาดน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะ แสดงอาการ เหี่ยวทันที ใบสูญเสียน้ำมากดอกไม้ที่ตัดมีใบติดมาด้วยมีโอกาส สูญเสียน้ำได้มากกว่าดอกไม้ที่ไม่มีใบติด เนื่องจากที่ใบมีปากใบจำนวนมาก ดังนั้น จึงสูญเสียน้ำได้มากด้วย และดอกไม้ขาดอาหาร ดอกไม้หลังจากตัดออกมาจาก ต้น แล้วก็ยังคงมีการระเหยน้ำ มีการหายใจ การหายใจทำให้เกิดพลังงาน เพื่อนำไป ใช้ในปฏิกิริยาต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อการเจริญเติบโต เช่น การบานของดอกเพิ่มมาก ขึ้น ดังนั้นจึงทำให้อาหารที่มีอยู่ในดอกไม้ลดลงไปเรื่อยๆ และถ้าอาหารหมด เซลล์ ก็จะตายดอกไม้ก็จะเหี่ยว

ถ้าทำให้ดอกไม้ได้รับอาหารต่อไป ดอกไม้ก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น อาหารของดอกไม้ที่ได้รับจากต้น คือ น้ำตาล ซึ่งพืชสามารถสังเคราะห์ได้เอง โดย อาศัย น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แสงอาทิตย์ และคลอโรฟีลล์ ได้เป็นน้ำตาล กลูโคส และน้ำตาลฟรุคโตส ดังนั้นการเติมน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลฟรุคโตส ใส่ลงไปในน้ำที่แช่ดอกไม้ จะทำให้ดอกไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น แต่ น้ำตาล กลูโคส และ น้ำตาลฟรุคโตสมีราคาแพง จึงมีการใช้น้ำตาลทรายขาว นั่นก็คือ น้ำตาลซูโครส ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน เพราะในโมเลกุลของน้ำตาลซูโครส ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส โดยที่เซลล์ของดอกไม้สามารถเปลี่ยน น้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส เพื่อใช้เป็นอาหารได้ แต่การเติม น้ำตาลลงไปในน้ำที่แช่ดอกไม้ เมื่อทิ้งไว้ ๒-๓ วัน จะเน่าเสียเพราะเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในอากาศเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นสารประกอบ ชนิดอื่น และทำให้ก้านดอกไม้ เน่าเสีย ดังนั้นน้ำที่ใช้แช่ดอกไม้นอกจากเติมน้ำตาลแล้วต้องเติมสาร สารเคมีที่ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ๘-ไฮดรอกซี ควิโนลีน (๘-Hydroxy quinoline) โดยใช้ในรูปของเกลือซัลเฟต หรือเกลือซิเตรต สารเคมีชนิดนี้สามารถ ลดปัญหาการอุดตันของท่อน้ำในก้านดอกไม้ได้ เนื่องจาก ๘-ไฮดรอกซีควิโนลีน ไป รวมตัวกับโลหะที่เกี่ยวข้องในกิจกรรม ของเอนไซม์ซึ่งเร่งให้เกิดการอุดตันของ ท่อน้ำ ดอกไม้บางชนิด เช่น คาร์เนชั่นและกล้วยไม้ เมื่อดอกบานจะปล่อยก๊าซ เอทิลีนออกมา มีผลทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วขึ้น สารเคมีเบนซิลไอโซไธโอไซยาเนต (Bensylisothiocyanate) สามารถช่วยยับยั้งการสังเคราะห์ ก๊าซเอทิลีน นอกจาก นี้ต้องคำนึงถึงการตัดดอกไม้ออกจากต้นควรใช้มีด หรือกรรไกรที่คมและสะอาด ควรตัด ดอกไม้ที่มีระยะการบานที่เหมาะสมเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้นานที่สุด พยายามเหลือใบ ให้น้อยที่สุด และต้องแช่ดอกไม้ที่ตัดลงในน้ำสะอาดทันที เพื่อ ให้น้ำเข้าไปแทนที่น้ำที่สูญเสียไป

ไม่มีความคิดเห็น: